โซล่าฟาร์ม (Solar Farm) ตัวช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์ หรือ โรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นนวัตกรรมใหม่ของยุคปัจจุบันโดยนำโซล่าเซลล์หลาย ๆ แผงเรียงต่อกันเพื่อทำการกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยโซล่าเซลล์ (Solar cell) ซึ่งโซล่าฟาร์มถูกออกแบบเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าระดับเมกะวัตต์ (MW) เพราะปัจจุบันทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์ที่เป็นแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่มีศักยภาพมาก เนื่องจากเป็นพลังงานสะอาด ไร้มลพิษ ใช้ได้ไม่มีวันหมดและช่วยประหยัดพลังงานเปลี่ยนรูปพลังงานเป็นเงินได้
เป็นแผงโซล่าเซลล์ (Solar cells) ชนิดที่ดีที่สุดในตลาด เพราะผลิตจากซิลิคอนที่มีความบริสุทธิ์สูง โดยใช้ซิลิคอนชิ้นเดียวในการผลิตเซลล์แต่ละชิ้นทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าสูงประมาณ 17-20% และมีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด สามารถใช้ได้นานมากกว่า 25 ปี ซึ่งลักษณะของแผงแบบโมโนจะเป็นช่องสี่เหลี่ยมตัดมุมเรียงต่อกัน มองง่าย ๆ จะเห็นเป็นจุดขาว ๆ ตลอดทั้งแผง แต่ไม่นิยมนำมาใช้ติดตั้งโซล่าฟาร์มเนื่องจากมีราคาสูงและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากนักเพราะต้องตัดซิลิคอนให้ได้รูปและจะมีซิลคอนที่เหลือทิ้งเป็นขยะ
เป็นแผงโซล่าเซลล์ (Solar cells) ชนิดที่ดีรองลงมาจากตัวโมโนและสามารถทนความร้อนได้ดี นิยมนำมาใช้ติดตั้งเป็นโรงงานผลิตไฟฟ้าแสงอาทิตย์หรือโซล่าฟาร์ม โดยการผลิตแผงโพลีจะใช้ซิลิคอนอัดรวมทำให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าจะอยู่ที่ 15-19% ซึ่งมีประสิทธิภาพดีไม่ต่างกับแผงโมโนเท่าไร แถมยังมีราคาที่ถูกกว่า อายุการใช้งานประมาณ 20 ปี ซึ่งลักษณะของแผงจะเหมือนตารางสี่เหลี่ยม ไม่มีการตัดมุมเหมือนแผงโมโน
เป็นแผงโซล่าเซลล์ (Solar cells) ไม่ได้ใช้ซิลิคอนผลิต แต่เป็นการเคลือบสารที่สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้าได้ ไว้บนแผงผลิตจากแก้วหรือพลาสติก แผงจะมีลายเส้นตรงถี่ๆ เรียงต่อกัน ไม่ได้เป็นตาราง ซึ่งแผงแบบนี้จะมีราคาถูกที่สุด สามารถทำงานได้แม้อยู่ในที่แสงน้อย และประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าไม่สูง และมีอายุการใช้งานสั้นประมาณ 5 ปี จะนิยมมใช้กับเครื่องคิดเลข นาฬิกา
เป็นการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ที่มีตำแหน่งชัดเจน ตั้งอยู่กับที่โดยดูว่าพื้นที่บริเวณใดโดนแสงอาทิตย์นานสุดเพื่อที่จะได้รับพลังแสงพระอาทิตย์ ได้เยอะ ๆ และนำพลังงานไปใช้งานให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด
ข้อดีของการใช้แผงโซล่าเซลล์แบบยึดติดกับที่
- ต้นทุนในการติดตั้งแผงโซล่าเซลล์จะต่ำกว่าแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ และค่าดูแลรักษาก็จะถูกกว่า
ข้อเสียของการใช้แผงโซล่าเซลล์แบบยึดติดกับที่
- เวลารับแสงอาทิตย์มีจำกัด เนื่องจากดวงอาทิตย์เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ทำให้ได้รับแสงประมาณ 5-6 ชั่วโมงต่อวันและรับแสงได้เต็มที่ในช่วงเที่ยงเท่านั้น
2. โซล่าฟาร์มแบบหมุนตามดวงอาทิตย์ (Tracking System)
เป็นการติดตั้งโซล่าเซลล์ ที่สามารถรับแสงอาทิตย์ได้ดีกว่าแบบอยู่กับที่ประมาณ 20% เนื่องจากมีแขนกลทำหน้าที่หมุนแผงโซล่าเซลล์ ซึ่งจะควบคุมด้วยโปรแกรมเก็บข้อมูลความเข้มของรังสีดวงอาทิตย์ ที่เป็นตัวกำหนดให้แผงหมุนตามมองศาของแสงอาทิตย์ ทำให้ได้รับแสงอาทิตย์ตลอดทั้งวัน
ซึ่งการทำโซล่าฟาร์มจำเป็นต้องใช้พื้นที่ค่อนข้างมากในการติดตั้งโซล่าเซลล์ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่อการใช้งานของสถานที่นั้นๆ สถานที่ติดตั้งควรจะเป็นที่โล่งแจ้ง ห้ามมีเงาหรือฝุ่นมาบังแผงโซล่าเซลล์ ควรวางแผงโซล่าเซลล์ให้เอียงประมาณ 10-15 องศา เพื่อรับแสงอาทิตย์ให้มากที่สุด
ดังนั้นการติดตั้งระบบโซล่าฟาร์มด้วยแผงโซล่าเซลล์นั้น ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการออกแบบระบบ โดยทีมวิศวกร หรือช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญ อย่าง บริษัท สยาม-ซันนี่ โวลท์ จำกัด ให้บริการติดตั้งระบบโซล่าฟาร์ม (Solar farm) ระบบไฟฟ้า รับเหมาติดตั้งระบบไฟฟ้าโรงงาน ติดตั้งตู้คอนโทรล บริการออกแบบตู้คอนโทรล ในโรงงานอุตสาหกรรมและสำนักงานอาคารต่าง ๆ และมีบริการดูแลหลังการติดตั้งเป็นอย่างดีติดต่อสอบถามได้ เรายินดีให้ปรึกษาเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในโรงงานและสถานประกอบการ สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติม คลิก
------------------------------------------------------------------------------------------
บทความที่เกี่ยวข้อง
• ออกแบบ ติดตั้งระบบโซล่าร์ฟาร์ม งาน Solar farm
• ข้อควรระวังในการติดตั้งระบบไฟฟ้า
• ความปลอดภัยของการติดตั้งระบบไฟฟ้าโรงงานเป็นเรื่องที่สำคัญ